บทที่ 5
บรรยากาศ
1.อากาศรอบตัว
1.1 ส่วนประกอบของอากาศ
บรรยากาศ (Atmosphere) คือ อากาศที่อยู่รอบตัวเราและห่อหุ้มโลกไว้ทั้งหมด
อากาศแห้ง คือ อากาศที่ไม่มีไอน้ำผสมอยู่เลย
อากาศชื้น คือ อากาศที่มีไอน้ำผสมอยู่
ส่วนประกอบของอากาศบางอย่าง เช่น ก๊าซต่าง ๆ ไอน้ำ ฝุ่นละออง ควันไฟ จะแตกต่างกันไปตามสถานที่และเวลา
อากาศเป็นของผสม ในอากาศแห้งจะประกอบด้วยก๊าซต่างๆ ดังตางรางต่อไปนี้
ตารางแสดงส่วนประกอบของอากาศแห้ง
ส่วนประกอบของอากาศ ปริมาณ (ร้อยละโดยปริมาตร)
ก๊าซไนโตรเจน(N2) 78.08
ก๊าซออกซิเจน(O2) 20.95
ก๊าซอาร์กอน หรือก๊าซเฉื่อย(Ar) 0.93
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 0.03
ก๊าซอื่นๆ 0.01
ชั้นบรรยากาศ ความสูง ลักษณะของอุณหภูมิ ความสำคัญ
โทรโพสเฟียร์ (Troposphere) 0-10 km อุณหภูมิจะค่อยลดลงตามระดับความสูง โดยเฉลี่ยลดลงประมาณ 6.5 ํC ต่อ 1 km เป็นที่อยู่ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ และมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีไอน้ำ เมฆ หมอก ฝน และพายุ
สตราโตสเฟียร์ (Stratosphere) 10 -50 km อุณหภูมิจะคงที่ที่ความสูง 10 -20 km ส่วนความสูงที่ 20 -35 km อุณหภูมิจะค่อย ๆ สูงขึ้น และที่ความสูง 35 - 50 km จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเฉลี่ย 0.5 ํC1km เป็นชั้นที่ไม่มีเมฆ พายุ มีความชื้นและฝุ่นละอองเล็กน้อย แต่มีความเข้มข้นของก๊าซโอโซน (O3) มาก ก๊าซโอโซนช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต ไม่ให้มายังโลกมากเกินไป
มีโซสเฟียร์ (Mesosphere) 50-80 km อุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง -
เทอร์โมโพสเฟียร์ (Thermosphere) 80-100 km อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 80 - 100 km จากนั้นอัตราการสูงขึ้นของอุณหภูมิจะค่อย ๆ ลดลง โดยทั่วไปอุณหภูมิจะอยู่ในช่วง 227 - 1,727 ํC เป็นชั้นที่มีความหนาแน่นของอนุภาคต่าง ๆ จาง แต่ก๊าซต่าง ๆ ในชั้นนี้จะอยู่ในลักษณะที่เป็นอนุภาคที่เป็นประจุไฟฟ้าที่เรียกว่า อิออน สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุบางความถี่ได้
บรรยากาศมีความสำคัญดังต่อไปนี้
ให้ก๊าซออกซิเจนแก่พืชและสัตว์เพื่อใช้ในกระบวนการหายใจ และให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แก่พืชใน กระบวนการสังเคราะห์แสง ช่วยให้มีวัฏจักรของน้ำในธรรมชาติ เช่น เกิดเมฆ ฝน หมอก น้ำค้าง ป้องกันอันตรายจากอุกกาบาต ทำให้เกิดการลุกไหม้ ป้องกันอันตรายจากรังสี เช่น ดูดกลืนรังสีอัลทราไวโอเล็ต ทำให้เกิดการเน่าเปื่อยของพืชและสัตว์ที่ตายแล้ว
ทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เย็นหรือร้อนเกินไป ถ้าไม่มีบรรยากาศในเวลากลางวันอากาศจะมีอุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส เวลากลางคืนอุณหภูมิจะต่ำถึง - 180 องศาเซลเซียส
1.2 บรรยากาศที่ระดับความสูงต่าง ๆ กัน
จากการศึกษารรยากาศ พบว่า อากาศที่อยู่ใกล้พื้นดินอุณหภูมิสูงกว่าอากาศที่อยู่สูงขึ้นไป บรรยากาศของโลก สามารถจำแนกออกเป็นชั้นๆ ตามอุณหภูมิ สมบัติของก๊าซหรือส่วนผสมของก๊าซที่มีอยู่ และสมบัติทางอุตุนิยมวิทยา ดังนี้
1.2.1 การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิ แบ่งได้ 4 ชั้น ตามตารางต่อไปนี้
1.2.2 การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติของก๊าซหรือส่วนผสมของก๊าซเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น 4 ชั้น ตามตารางต่อไปนี้
ชั้นบรรยากาศ ความสูง ส่วนผสมบรรยากาศที่สำคัญ
1.โทรโพสเฟียร์(Troposphere) 0-10 km ไอน้ำ
2.โอโซโนสเฟียร์ (Ozonosphere) 10 - 55 km โอโซน
3.ไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) 80 -600 km อากาศแตกตัวเป็นอิอน (Ion)
4.เอกโซสเฟียร์ (Exosphere) 600 km ขึ้นไป ความหนาแน่นของอะตอมต่าง ๆ มีค่าน้อยลง
1.2.3 การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้สมบัติทางอุตุนิยมวิทยาเป็นเกณฑ์ แบ่งได้ 5 ชั้น ดังนี้
บริเวณที่มีอิทธิพลของความฝืด อยู่ในช่วงจากบริเวณพื้นโลกจนถึงระดับความสูงประมาณ 2 กิโลเมตร การไหลเวียนของมวลออากาศในบริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากความฝืดและจากลักษณะของพื้นผิวโลก
โทรโพสเฟียร์ชันกลางและชั้นบน อุณหภูมิในบรรยากาศชั้นนี้จะลดลงอย่างสม่ำเสมอตามระดับความสูงที่เพิ่มขึ้น ในชั้นนี้อิทธิพลจากความฝืดจะมีผลต่อการไหลเวียนของมวลอากาศน้อยลงมาก
โทรโพพอส เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ระหว่างโทรโพสเฟียร์และสตราโตสเฟียร์ บรรยากาศในชั้นนี้เป็นเขตที่แบ่งชั้นที่มีไอน้ำและไม่มีไอน้ำ
สตราโตสเฟียร์ อุณหภูมิจะคงที่ที่ความสูง 10 -20 km ส่วนความสูงที่ 20 -35 km อุณหภูมิจะค่อย ๆ สูงขึ้น และที่ความสูง 35 - 50 km จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วเฉลี่ย 0.5 ํC /1km
บรรยากาศชั้นสูง บรรยากาศอยู่ในช่วงอยู่เหนือสตราโตสเฟียร์จนถึงขอบนอกสุดของบรรยากาศ
2 สมบัติของอากาศ
________________________________________
2.1 ความหนาแน่นของอากาศ
1. อากาศเป็นสสาร จึงมีมวลและต้องการที่อยู่
2 ความหนาแน่นของอากาศ คือ อัตราส่วนระหว่างมวลและปริมาตรของอากาศ หรือสูตร D=m/v
3.อากาศที่ผิวโลกระดับน้ำทะเลมีความหนาแน่นประมาณ 1.2 kg/m3 แสดงว่า อากาศปริมาตร 11.2 kg/m3 ที่ระดับน้ำทะเล จึงมีมวลประมาณ 1.2 kg
4. ความหนาแน่นของอากาศแปรผกผันกับระดับความสูงจากระดับทะเล คือ ถ้าความสูงจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ความหนาแน่นของอากาศจะมีค่าลดลง ซึ่งแสดงว่า บริเวณสูง ๆ ขึ้นไปจากระดับน้ำทะเล อากาศจะอยู่เจือจางลง
2.2 ความดันของอากาศ
1. อากาศมีแรงดันทุกทิศทาง
2. ความดันอากาศหรือความดันบรรยากาศ คือ ค่าของแรงดันอากาศต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่รองรับแรงดันนั้น หรือสูตร
เมื่อ P = ความดันอากาศ
F = แรงดันอากาศ
A= พื้นที่รองรับแรงดัน
3. แรงดันอากาศจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับพื้นที่พื้นที่มากอากาศจะมีแรงดันมากกว่าพื้นที่น้อย
4. ความสัมพันธ์ระหว่างความดันอากาศกับความสูงจากระดับน้ำทะเล เป็นดังนี้
4.1 ที่ความสูงระดับเดียวกัน ความดันอากาศทีค่าเท่ากัน หลักการนี้ได้นำไปใช้ทำเครื่องมือวัดแนวระดับในการก่อสร้าง
4.2 เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น ความดันของอากาศมีค่าลดลง หลักการนี้นำไปใช้ทำเครื่องมือวัดความสูง เรียกว่า แอลติมิเตอร์
ความสัมพันธ์ระหว่างความดันอากาศกับความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นดังนี้
ความสูง (km) ความดันอากาศ
มิลลิเมตรของปรอท นิวตันต่อตารางเมตร
0 760 1.01 x 105
1 675 0.90 x 105
2 600 0.80 x 105
3 530 0.71 x 105
4 470 0.63 x 105
5 410 0.55 x 105
6 360 0.48 x 105
7 320 0.43 x 105
8 280 0.37 x 105
9 245 0.33 x 105
10 210 0.28 x 105
จากข้อมูลในตารางแสดงเป็นกราฟได้ ดังนี้
2.3 อุณหภูมิของอากาศ
1. อุณหภูมิของอากาศจะแปรผกผันกับความสูงจากระดับน้ำทะเล คือ ถ้าความสูงความสูงจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น อุณหภูมิของอากาศจะมีค่าลดลง แสดงได้จากกราฟ ข้างล่างนี้
2.4 ความชื้นของอากาศ
1.ความชื้นของอากาศ (Humidity) คือ ปริมาณไอน้ำที่ปะปนอยู่ในอากาศ ซึ่งได้มาจากการระเหยของแหล่งน้ำต่าง ๆ
2.อากาศอิ่มตัว (Saturated Vapour) คือ อากาศ ที่มีไอน้ำอยู่ในปริมาณเต็มที่ และรับไอน้ำจากที่อื่นอีกไม่ได้แล้ว
อากาศที่มีอุณหภมิสูงจะรับไอน้ำได้มากกว่าอากาศที่มีอุณหภูมิต่ำ
อากาศ ณ อุณหภูมิต่าง ๆ จะสามารถรับไอน้ำได้ ดังนี้
ที่อุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส จะสามารถรับปริมาณไอน้ำได้มากที่สุดประมาณ 9.3 g/m3
ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จะสามารถรับปริมาณไอน้ำได้มากที่สุดประมาณ 17.5 g/m3
ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส จะสามารถรับปริมาณไอน้ำได้มากที่สุดประมาณ 30.5 g/m3
3. เครื่องมือที่ใช้วัดความชื้นของอากาศ เรียกว่า ไฮกรอมิเตอร์
4. วิธีวัดความชื้นของอากาศ วัดได้ 2 วิธีคือ
4.1 ความชื้นสัมบูรณ์ (Absolute Humidity) คือ อัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำในอากาศกับปริมาตรของอากาศนั้น
หน่วยวัดความชื้นสัมบูรณ์คือ g/m3
ตัวอย่าง อากาศแห่งหนึ่ง ที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส มีปริมาตร 5 m3 มีไอน้ำอยู่ 28 กรัม จงหาความชื้นสัมบูรณ์ของอากาศแห่งนี้
วิธีทำ อากาศมีปริมาตร 5 m3
มีไอน้ำอยู่ 30 g ดังนั้น ความชื้นสัมบูรณ์ของอากาศ = 30/5 g/m3 = 4 g/m3 Ans.
4.2 ความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) คือ ปริมาณเปรียบเทียบระหว่างระหว่างมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศขณะนั้นกับมวลของไอน้ำในอากาศอิ่มตัวที่อุณหภูมิและปริมาตรเดียวกัน นิยมคิดเป็นร้อยละ
ตัวอย่าง ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส มีไอน้ำอยู่จริงเพียง 120 g/m3 ถ้าอากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ 160 g/m3 จงหาความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ
วิธีทำ ในอากาศมีไอน้ำอยู่จริง 120 g/m3
อากาศอิ่มตัวด้วยไอน้ำ 160 g/m3
ดังนั้น ความชื้นสัมพัทธ์ = (120/160)100
= 75 % Ans.
3.ลม ฝน เมฆ หมอก
________________________________________
ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ในแนวขนานกับพื้นโลก หรือเคลื่อนที่ในแนวราบกับพื้นผิวโลก ลมเกิดขึ้นได้อย่างไร?
3.1 การเกิดลม มีสาเหตุมาจากสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
1.ความแตกต่างของอุณหภูมิในที่ 2 แห่ง อากาศที่มีอุณหภมิที่สูงจะขยายตัว ความหนาแน่นของอากาศจะลดลง อากาศจึงลอยตัวสูงขึ้น บริเวณที่มีอุณหภูมิของอากาศต่ำกว่า มีความหนาแน่นของอากาศมากกว่า จากบริเวณใกล้เคียง จะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดลม
2.ความแตกต่างของความกดอากาศ อากาศเมื่อได้รับความร้อนจะมีความกดอากาศต่ำ ความหนาแน่นลดลง จึงลอยตัวสูงขึ้น อากาศเย็นที่มีความหนาแน่นมากกว่า และมีความกดอากาศสูงกว่าจะเคลื่อนเข้าแทนที่ ทำให้เกิดลม
แผนที่อากาศ จากแผนที่อากาศตัวอักษร H แทนหย่อมความกดอากาศสูงหรือบริเวณที่มีความกดอากาศสูง และ L แทนหย่อมความกดอากาศต่ำ หรือบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ เราทราบมาแล้วว่า ถ้าความกดอากาศในที่สองแห่งแตกต่างกันจะทำให้เกิดลมพัด แต่ถ้าความกดอากาศในสองบริเวณแตกต่างกันมาก จะเกิดลมพัดด้วยความเร็วสูง ซึ่งเราเรียกว่า ลมพายุ บางครั้งลมพายุที่เกิดขึ้นจะพัดวนรอบจุดศูนย์กลาง ซึ่งเรียกว่า พายุหมุน เช่น พายุหมุนเขตร้อน ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกพายุหมุนที่เกิดเหนือทะเล หรือมหาสมุทรในเขตร้อน
ตารางแสดง ประเภทของพายุ
ประเภทพายุหมุนเขตร้อน ความเร็วสูงสุด (km/h)
พายุดีเปรสชัน (Depression)
ไม่เกิน 63
พายุโซนร้อน (Tropical storm)
63 - 118
พายุไต้ฝุ่น (Typhoon)
มากกว่า 118
นอกจากนี้พายุหมุนเขตร้อน ยังมีการเรียกชื่อที่แกตกต่างกันไปตามบริเวณที่เกิด เช่น
ไต้ฝุ่น เป็นพายุที่เกิดในทะเลจีนใต้
ไซโคลน เป็นพายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดีย
เฮอริเคน เป็นพายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติดเหนือและทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และทะเลทางด้านตะวันตกของอ่าวเม็กซิโก
* ภาพจากหนังสือเรียน วิชาเคมี
วิลลี - วิลลี เป็นพายุที่เกิดในออสเตรเลีย
บาเกียว เป็นพายุที่เกิดในประเทศฟิลิปินส์
ทอร์นาโด เป็นพายุที่เกิดในประเทศเม็กซิโก
คำว่า ไซโคลน นอกจากจะหมายถึงพายุหมุรเขตร้อนที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียแล้ว ยังมีความหมายดังนี้คือ
1) พายุหมุนที่มีขนาดใหญ่ และมีการหมุนเวียนคงอยู่ไม้น้อยกว่า 24 ชม.
2) การหมุนเวียนของกระแสลมที่พัดเข้าหาศูนย์กลางความกดอากาศต่ำ
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดกระแสลม ได้แก่
1) ศรลม ( Winnd vane ) คือ เครื่องมือที่ใช้ตรวจทิศทางลมมีลักษณะที่เป็นลูกศรที่มีหางเป็นแผ่นใหญ่กว่าหัวลูกศรมาก เมื่อลมพัดมาหางลูกศรจะถูกแรงลมปะทะมากกว่าหัวลูกศร ทำให้หัวลูกศรชี้ไปในทิศทางที่ลมพัดมา ทำให้เราทราบว่า ลมมาจากทางไหน
2) อะนิโมมิเตอร์หรือมาตรวัดความเร็วลม ( Anemometer ) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดความเร็วลม ประกอบด้วยถ้วยกลมครึ่งซีกที่ทำด้วยโลหะเบา 3 -4 ใบ หันตามกัน ติดอยู่ที่ปลายแกนมุม ซึ่งหมุนได้อิสระ เมื่อลมพัดมาปะทะถ้วย ถ้วจะหมุนไปรอบแกน จำนวนรอบที่หมุนแสดงถึงความเร็วของลม สามารถอ่านได้จากตัวเลขที่หน้าปัดของเครื่อง
3.2 การเกิดฝน
อากาศประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ หลายชนิด ไอน้ำเป้นส่วนหนึ่งที่ปะปนอยู่ในอากาศ เมื่อไอน้ำได้รับความเย็นมาก ๆ จะจับตัวกันและกลั่นตัวเป้นหยดน้ำที่มีขนาดโต และมีน้ำหนักมากพอที่จะตกลงมาเป็น ฝน ในบางครั้งหยดน้ำที่กลั่นตัวเป็นก้อนน้ำแข็งตกลงมาสู่ผิวโลกและไม่ละลายเป้นน้ำ แต่ตกลงมาถึงผิวโลกก่อน
นอกจากฝนจะเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติแล้ว เราสามารถทพชำฝนเทียมได้อีกด้วย ฝนเทียมสามารถทำได้หลายวิธี สำหรับประเทศไทยที่อยู่ในเขตร้อน ทำฝนเทียมได้โดยใช้สานเคมี เช่น ผงโซเดียมคอลไรด์ผสมกับผงแคลเซียมคลอไรด์ แล้วนำไปโปรบในอากาศเพื่อให้สารเคมีที่ทำหน้าที่เป็นแกนให้ไอน้ำมาจับเกาะกันเป็นหยดน้ำที่มีน้ำหนักมากพอที่จะตกลงมาเป็นฝน
เครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณน้ำฝน เรยกว่า Rain Gauge มีลักษระเป็นรูปทรงกระบอกฐานกว้าง ที่ปากกระบอกมีกรวยรับน้ำฝน เมื่อนำเครื่องนี้ไปวางกลางแจ้ง จะวัดปริมาณน้ำฝนโดยบอกความสูงของระดับน้ำในภาชนะเป็นมิลลิเมตร
ตารางแสดงปริมาณน้ำฝน
ความสูงที่วัดได้ (มิลลิเมตร) ขนาดของฝน
0.1 - 10.0
ฝนน้อย
10.1 - 35.0
ฝนปานกลาง
35.4 - 90.0
ฝนตกหนัก
90.0 ขึ้นไป
ฝนตกหนักมาก
3.3 เมฆและหมอก
เราทราบว่า น้ำเเมื่อได้รับความร้อนจะระเหยกลายเป็นไอลอยไปอยู่ในอากาศที่ระดับสูง ๆ นั่นคือเมฆ ส่วนไอน้ำที่อยู่ระดับพื้นผิวโลกเรียกว่า หมอก เมฆและหมอก เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเช่นเดียวกับพายุที่เกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ
ปัจจุบัน เราจะเห็นว่ามนุษย์มีส่วนทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ทำให้สารพิษปะปนอยู่ในอากาศมากขึ้น การเปลี่ยนดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลก
ปรากฏการณ์ของดิน ฟ้า อากาศ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น อาชีพการทำการเกษตร ต้องอาศัยน้ำจากน้ำฝน ถ้าฝนไม่ตกจะทำการเพาะปลูกไม่ได้ อาชีพชาวประมงในสมัยก่อนต้องอาศัยลมบก ลมทะเลออกเรือและกลับเข้าฝั่ง ปรากฏการณ์ทางดิน ฟ้า อากาศ ยังมีผลต่อสถานะของสิ่งแวดล้อมด้วยเหมือนกัน เช่น การเกิดพายุหมุนรุนแรงทำให้ต้นไม้โค่นเป็นจำนวนมาก การเกิดหมอกหนา ทำให้การเดินทางยุ่งยาก อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
4. อุตุนิยมวิทยากับการดำรงชีวิต
อุตุนิยมวิทยา (Meteorology) เป็นวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับอากาศ ซึ่งจะกล่าวถึงสภาพดิฟ้า อากาศรวมทั้งการรายงานสภาพดินฟ้าอากาศที่ผ่านมา การศึกษาสภาพดินฟ้าอากาศขณะใดขณะหนึ่ง และการพยากรณ์อากาศล่วงหน้า
กรมอุตุนิยมวิทยา เป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ในการตรวจสภาพอากาศและรควบรวมผลในการตรวจสภาพอากาศไปจัดทำแผนที่อากาศเพื่อพยากรณ์อากาศและกระจายข่าวเกี่ยวกับสภาพอากาศ
การพยากรณ์อากาศ คือ การคาดหมายลักษณะของอากาศก่อนที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า
สภาพดินฟ้าอากาศ มีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นข้อมูลและผลการวิเคราะห์ลักษณะอากาศจึงจำเป็นสำหรับบุคคลทุกอาชีพ
การเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศ มีสาเหตุมาจากธรรมชาติ และการกระทำของมนุษย์
กิจกรรมที่มนุษย์ทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง มีมากมาย เช่น
1. การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้อากาศแห้งแล้ง ฝนไม่ตกตามฤดู
2.การคมนาคมขนส่ง การอุตสาหกรรม และการบริการ ทำให้เกิดก๊าซเป็นพิษได้ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซซันเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซเหล่านี้จะเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย
ปริมาณสารพิษในอากาศจากแหล่งต่างๆซึ่งประเมินสำหรับปี 2525
แหล่ง ปริมาณสารพิษ(ตัน/ปี)
ฝุ่นละออง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน
การคมนาคมขนส่ง 7515 47339 4065700 17952
โรงไฟฟ้า 96300 153087 2143 1054
อุตสาหกรรม 62701 106735 110212 6569
เกษตรกรรม 54022 36087 34666 1882
การบริการ 4221 2145 108397 1525
ครัวเรือน 67109 2997 4941 4942
จากข้อมูลจะเห็นว่า การคมนาคม อุตสาหกรรม หรือการบริการ ล้วนแล้วแต่เป็นแหล่งที่ให้ปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์มากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับสารพิษชนิดอื่นๆ ส่วนโรงงาน ไฟฟ้าให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในปริมาณมาก ดังนั้นอาจกล่าวสรุปได้ว่ากิจกรรมต่างๆของมนุษย์ล้วนแล้วแต่ให้สารพิษหลายชนิดในปริมาณมากแทบทั้งสิ้น
สภาพอากาศกับการดำรงชีวิต
เราทราบว่า อากาศมีความสำคัญต่อชีวิตบนโลก มนุษย์และสัตว์ใช้อากาศในการหายใจ พืชใช้อากาศในการหายใจ และสร้างอาหาร
ปรากฏการณ์การณ์ทางลมฟ้าอากาศ บางลักษณะจะส่งผลถึงสภาพการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะมนุษย์จะต้องศึกษาและติดตามการเปลี่ยนแปลงของลม ฟ้า อากาศอยู่ตลอดเวลา
ปรากฏการณ์บางลักษณะของลท ฟ้า อากาศ อาจจะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เช่น การเกิดพายุหมุน การเกิดหมอก การเกิดน้ำท่วม เป็นต้น
การศึกษา ติดตาม สังเกตฟังข่าวการพยากรณ์อากาศ และเตรียมป้องกันภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เป็นวิธีที่จะช่วยให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
สภาพอากาศกับสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ป่าไม้อาจถูกทำลาย ความชื้นของอากาศก็จะเปลี่ยนไป ซึ่งในปัจจุบันนี้เราพบว่า มนุษย์มีส่วนทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไปมาก การกระทำเหล่านั้นจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพอากาศทั้งสิ้น คือ การทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย และส่งผลต่อความเป็นอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก
แบบทดสอบหลังเรียนประจำบทที่ 5
1. ถ้าไม่มีบรรยากาศ ห่อหุ้มโลกในเวลากลางวันจะมีอุณหภูมิ เท่าไร
1. 180 องศาเซลเซียส 2. 110 องศาเซลเซียส
3. -180 องศาเซลเซียส 4. -110 องศาเซลเซียส
2. ในบรรยากาศมีปริมาณก๊าซเฉื่อยกี่เปอร์เซ็นต์
1. 0.93 2. 20.95 3. 78.08 4. 0.01
a. บรรยากาศ หมายถึง อากาศที่อยู่รอบตัวเราและภายในโลก
b. ถ้าไม่มีบรรยากาศแล้วอุณหภูมิตอนกลางวันจะสูงถึง 110 องศาเซลเซียส
c. บรยากาศช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต
3. จากคำกล่าวข้างต้นข้อใดถูกต้องที่สุด
1. ข้อ a และ b 2. ข้อ b และ c 3. ข้อ c เท่านั้น 4. ข้อ a,b และ c
ใช้ตารางต่อไปนี้ ตอบคำถาม
ส่วนประกอบของอากาศ ปริมาณ (ร้อยละโดยปริมาตร)
A 0.93
B 0.01
C 0.03
D 78.08
E 20.95
4.ก๊าซ A คือก๊าซชนิดใด
1. ก๊าซไนโตรเจน 2. ก๊าซอาร์กอน 3. ก๊าซคาร์บอนใดออกไซต์ 4. ก๊าซ O2
5.ก๊าซใดที่พืชใช้หายใจ
1. ก๊าซ A 2. ก๊าซ B 3. ก๊าซ C 4. ก๊าซ E
6.ก๊าซใดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
1. ก๊าซ A 2. ก๊าซ C 3. ก๊าซ D 4. ก๊าซ E
7. อากาศมีความหนาแน่น 2.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีปริมาตร 16 ลูกบาศก์เมตร จะมีมวลกี่กิโลกรัม
1. 45 2. 43 3. 40 4. 35
8. ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางของพายุหมุนเขตร้อนที่มีความเร็ว ไม่เกิน 63 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ถือว่าเป็นพายุชนิดใด
1. พายุใต้ฝุ่น 2. พายุโซนร้อน 3. พายุดีเปรสชัน 4. พายุเฮอริเคน
9.ข้อใดหมายถึงการพยากรณ์อากาศ
1. การการอธิบายลักษณะของอากาศหลังจากที่ฝนหยุดตก
2. การบอกลักษณะของอากาศหลังจากที่เหตุการณ์ผ่านไปแล้ว
3. การสังเกตฝูงมดเมื่อมีการย้ายรัง
4. การคาดการณ์ลักษณะของอากาศล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล โดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10. ใช้ตารางต่อไปนี้ ตอบคำถาม
แหล่ง ปริมาณสารพิษ(ตัน/ปี)
ฝุ่นละออง ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน
การคมนาคมขนส่ง 7515 47339 4065700 17952
โรงไฟฟ้า 96300 153087 2143 1054
อุตสาหกรรม 62701 106735 110212 6569
เกษตรกรรม 54022 36087 34666 1882
การบริการ 4221 2145 108397 1525
ครัวเรือน 67109 2997 4941 4942
สารพิษจากแหล่งใด มีปริมาณก๊าซซันเฟอร์ไดออกไซด์มากที่สุด
1. อุตสาหกรรม 2. โรงไฟฟ้า
3. เกษตรกรรม 4. ครัวเรือน