หน้าหลัก
ฝากข้อความถึงครูป้อม
ประวัติครูทวีสุข
Guestbook
สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า
หลุมดำ
จุดดับบนดวงอาทิตย์
โมเลกุลมหัศจรรย์
Glenn T. Seaborg
LAVOISIER
Linus Pauling : นักเคมีอัจฉริยะ
มาดามคูรี
รางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี พ.ศ.2539
วิธีการปรุงอาหารกับโรค
Leeuwenhock กับการเคลื่อนที่ของเซลล์
เมนเดล
สรุปวิทยาศาสตร์ทั่วไป
 

Linus Pauling : นักเคมีอัจฉริยะ

Linus Pauling : นักเคมีอัจฉริยะ

Linus Pauling ผู้พิชิตรางวัลโนเบลสาขาเคมี และสันติภาพได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2538 ขณะที่มีอายุได้ 93 ปี เขาเป็นบุคคลเดียวของโลกที่ได้รับรางวัลโนเบลถึงสองรางวัลในสาขาที่แตกต่างกัน โดยมิได้มีใครรับร่วมด้วยเลย ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของศตวรรษที่ 20 และเป็น 1 ใน 20 ของนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกเคยมี เขามีความสามารถสูงถึงขนาดว่าเห็นคำตอบของปัญหาต่างๆ ได้อย่างฉับพลันทันที ในขณะที่นักเคมีคนอื่นๆ ยังไม่ทันคิดว่า จะใช้ทฤษฎีอะไรอธิบายปรากฏการณ์นั้นๆ ด้วยซ้ำไป

ตลอดระยะเวลาทำงานอันยาวนานร่วม 70 ปี Pauling ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยกว่า 1,000 ชิ้น อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าเขามีอายุร่วม 90 ปีแล้วก็ตาม แต่ Pauling ก็ยังคงปฏิบัติงานค้นคว้าและวิจัยเป็นประจำทุกวัน

เขาเป็นคนกล้าคิดและกล้าแสดงออก ไม่หวั่นเกรงที่จะเสนอความคิดเห็นที่แปลกใหม่และแหวกประเพณี ดังนั้น ใครที่ได้สดับตรับฟังความคิดเห็นของเขาเป็นครั้งแรกจะเชื่อ 20 และไม่เชื่อ 80 เพราะเขามีความคิดก้าวไกลเกินมิติของเวลานี้เองที่ทำให้ความคิดบางประเด็นของ Pauling ต้องการเวลานานถึง 20 ปี จึงจะมีคนติดตามทัน

ในปี พ.ศ. 2487 Pauling ได้เขียนตำราเล่มหนึ่งชื่อ The Nature of the Chemical Bonds ตำราเล่มนี้ซึ่งนักเคมีถือว่าเป็นตำราเคมีที่สำคัญที่สุดเล่มหนึ่งของโลก ได้ปฏิวัติวิทยาการเคมีมาก เขาได้ชักนำให้นักเคมีหันมาสนใจโครงสร้างของโมเลกุลในสามมิติ เพราะเวลาเขาใช้ทฤษฎีควอนตัม เขาสามารถอธิบายสมบัติและปฏิกิริยาทางเคมีได้หมด ในปี พ.ศ. 2497 Paulingได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจากผลงานเรื่องธรรมชาติของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ผลงานชิ้นนี้ได้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสังเคราะห์โมเลกุลขนาดใหญ่ที่สลับซับซ้อน เช่น protein และ antibody ต่างๆ ได้ในเวลาต่อมา

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง Pauling ได้ปฏิเสธการเข้าร่วมทำงานในโครงการ Manhatton ของสหรัฐฯ เพื่อสร้างระเบิดปรมาณูเพราะเขาต่อต้านการทำสงคราม เขาได้เรียกร้องให้สหรัฐฯ และรัสเซีย เลิกทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เขาประท้วงการพัฒนาและผลิตอาวุธปรมาณูของสหรัฐฯ ทุกรูปแบบ เพราะเขาเชื่อว่ากัมมันตภาพรังสีจากระเบิดปรมาณู ถึงแม้จะมีปริมาณน้อยนิดเพียงใดก็สามารถทำร้ายมนุษย์ได้ ปัจจุบันเราทราบกันดีว่ากัมมันตภาพรังสีเป็นอันตรายต่อร่างกายคน แต่ในยุคที่ Pauling กำลังเดินขบวนคัดค้านนั้น ใครก็คิดว่าเขาเสียสติไปแล้ว

ในปี พ.ศ. 2505 Pauling ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากความพยายามที่ได้ผลักดันให้ประเทศมหาอำนาจลงนามในสัญญาไม่ทดลองระเบิดปรมาณูอีกต่อไป

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 เป็นต้นมา Pauling เริ่มถูกนักวิชาการต่างๆ โจมตี เพราะเขาเชื่อมั่นว่าการบริโภควิตามิน C มากๆ ช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น หวัด มะเร็งและเอดส์ได้ หนังสือชื่อ Vitamin C and the Common Cold ของเขาติดอันดับเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดเล่มหนึ่งของสหรัฐฯ ตัวเขาเองบริโภควิตามิน C วันละ 18 กรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณที่แพทย์รับรองให้คนทั่วไปรับประทานถึง 300 เท่า จะยังไงก็ตาม ขณะนี้มีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า ความคิดเห็นของ Pauling เรื่องวิตามิน C นี้ ถูก (อีกแล้ว)

ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต Pauling ได้อุทิศผลงานทุกชิ้น ของเขาทั้งสมุดจดโน้ต จดหมาย และงานวิจัยต่างๆ ฯลฯ จำนวน 150,000 หน้า แก่ห้องสมุดของ Oregon State University ที่เขาเคยศึกษาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ห้องสมุดแห่งนี้ได้เปิดให้ผู้สนใจผลงาน และชีวิตของ Pauling ทั่วโลกได้ใช้ internet ค้นคว้าศึกษา

ขณะที่ Einstein ยังมีชีวิตอยู่ Einstein ได้เคยกล่าวถึง Pauling ว่า “ Ah, that man is a real genius”
ขนาด Einstein ยังชม เราๆ จะไม่ยกย่องและเทิดทูน ก็ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติครับ

 

Today, there have been 3 visitors (4 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free