|
ยินดีต้อนรับสู่เว็บครูทวีสุข นามวงศ์ |
|
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
 |
|
|
 |
|
บทที่ 2
บทที่ 2
สารและสมบัติของสาร
1.1 การแยกสารรอบตัว
________________________________________
1.1การแยกสาร >> 1.2 ธาตุและสารประกอบ >> 1.3 การตรวจสอบความบริสุทธิ์สาร
สารรอบตัวมีสถานะของแข็ง ของเหลวและก๊าซ สารบางชนิดถ้าสังเกตด้วยตาเปล่า จะมองเห็นเป็นสารเนื้อเดียวกัน เช่น สารละลายไอโอดีน สารบางชนิดถ้ามองด้วยตาเปล่าจะสามารถเห็นเนื้อสารแยกออกมาอย่างชัดเจน เช่น ขมิ้นกับปูน แต่สารบางชนิดไม่สามารถใช้การสังเกตด้วยตาเปล่าแยกเนื้อสารได้
วิธีในการแยกสารส่วนมากที่ใช้กัน ได้แก่ การกลั่น การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ การสกัดด้วยตัวทำละลาย วิธีโครมาโทรกราฟี การตกผลึก การกรอง การใช้กรวยแยก การระเหยแห้ง
วิธีการแยกสาร
การระเหย (Evaporation) ใช้กับสารละลายที่มีของแข็งที่ระเหยยาก อยู่ในตัวทำละลลายที่ระเหยง่าย สามารถแยกออกโดยใช้ความร้อน ดังนี้ คือ ให้ความร้อนกับสานละลายโดยไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิ เมื่อสารละลายงวดลง ต้องหยุดให้ความร้อนแล้วปล่อยให้สารละลายนั้นแข็งตัวตกผลึก
การตกผลึก (Crystallization) เป็นวิธีการที่ทำให้สารบริสุทธ์วิธีหนึ่งที่ใช้กัน เพราะของแข็งแต่ละชนิดมีความสามารถในการละลาย ณ อุณหภูมิหนึ่งไม่เท่ากัน เมื่อสารใดถึงจุดอิ่มตัวก่อนสารนั้นจะตกผลึกออกมาก่อน จึงควรเลือกตัวทำะลลายให้เหมาะสมกับสารนั้น นั่นคือควรละลายสารผสมให้ได้มากที่สุดในตัวทำละลายที่ร้อน จากนั้นทำให้เย็นแล้วจึงนำไปกรองด้วยกระดาษกรอง
การกรอง (Filltration) เป็นวิธีแยกสารที่เป็นของแข็งที่ไม่ละลายในของเหลวโดยใช้ กระดาษกรองในการแยกสารละลาย
การกลั่น (Distillation) เป็นกระบวนการที่ทำให้ของเหลวที่ประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลายได้รับความร้อนจนกลายเป็นไอ เมื่อกระทบกับความเย็นจะเกิดการเปลี่ยนสถานะกลายเป็นของเหลว การเปลี่ยนสถานะของสารจากก๊าซกลายเป็นของเหลว เรียกว่า การควบแน่น ทำให้แยกตัวทำละลายและตัวถูกละลายที่เป็นของเหลวออกจากกันโดยอาศัยความแตกต่างของจุดเดือด การกลั่นจะใช้ได้ผลเมื่อตัวทำละลายและตัวถูกละลายเดือดที่อุณหภูมิต่างกันค่อนข้างมาก
ปัจจุบัน ได้มีการณรงค์ในเรื่องการนำสารหรือผลิตภัณฑ์พื้นบ้านมาใช้ประโยชน์ เช่น พืชสมุนไพรบางชนิดได้แก่ ขิง ข่า เป็นต้น เพื่อประหยัดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ
การสกัดด้วยตัวทำละลาย (Solvent Extration) ใช้แยกสารเนื้อเดียวที่เป็นของแข็งกับของแข็ง หรือของเหลวกับของเหลวได้โดยอาศัยสมบัติการละลายเป็นวำคัญ ดังนั้นจึงต้องเลือกตัวทำละลายให้เหมาะสม เพื่อสกัดสารที่ต้องการให้ได้มากที่สุด และสกัดสารที่ไม่ต้องการให้ได้น้อยที่สุด
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ(Steam Distilation) สารที่ต้องการสกัดต้องระเหยได้ง่าย สามารถให้ไอน้ำพาออกมาได้ สารที่สกัดได้ต้องไม่รวมเป็นเนื้อเดียวกับน้ำหรือต้องไม่ละลายน้ำ ถ้ารวมกับน้ำต้องเสียเวลากลั่นอีก สารที่กลั่นได้จะอยู่รวมกับน้ำเป็น 2 ชั้น แยกออกได้โดยใช้กรวยแยก
โครมาโทรการฟี (Chromatography) เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่ใช้แยกสารผสมออกจากกันให้บริสุทธิ์ เทคนิคนี้เริ่มใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2449 โดยนักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเซีย ชื่อมิเชล สเวต คำว่า โครมาโทกราฟี หมายถึงการแยกสีที่ผสมออกจากกัน แต่ปัจจุบันสามารถพัฒนามาใช้แยกสารไม่มีสีได้ และใช้ได้แม้สารนั้นมีเพียงเล็กน้อย
หลักการสำคัญของโครมาโทรการฟี คือ สารใดในของผสมละลายในตัวทำละลายที่ใช้ได้ดีจะเคลื่อนที่ไปกับตัวทำละลายได้ไกล หรือดูดซับไว้ได้มากหรือได้ดี ระยะทางการเคลื่อนที่ของตัวถูกละลายแต่ละชนิดกับระยะทางการเคลื่อนที่ของตัวทำละลายที่เท่ากัน เมื่อนำมาเปรียบเทียบในแต่ละชนิดของตัวถูกละลายจะเห็นความแตกต่างกัน อัตราส่วนที่ได้เรียกว่า Rate of Flow Values หรือย่อว่า Rf
คำว่า Rf ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลาย ชนิดของตัวดูดซับ สภาวะ เช่น อุณหภูมิ ความกดดัน ความชื้นในอากาศ ความสามรถในการละลายของสารบริสุทธ์กับตัวทำละลายที่นำมาใช้
ค่า Rf ของสารชนิดหนึ่งในตัวทำละลายอย่างหนึ่งมีค่าคงที่ ดังนั้น เมื่อระบุ Rf ของสารใดต้องบอกชนิดของตัวทำละลายที่ใช้แลัสภาวะที่ใช้ด้วย
ถ้าองค์ประกอบที่เคลื่อนที่บนตัวดูดซับ เคลื่อนที่ไปได้เท่า ๆ กันหรือ ใกล้เคียงกันต้องแก้ไขโดยเพิ่มระยะทางให้ไกลออกไปจากจุดเริ่มต้นหรือเปลี่ยนตัวทำละลายใหม่ เมื่อแบ่งเทคนิคโครมาโทรกราฟตามลักษณะตัวดูดซับและตัวทำละลายมี 4 แบบคือ
1) โครมาโทรการาฟีแบบกระดาษ
2) โครมาโทรการาฟแบบหลอดแก้วหรือแบบคอลัมน์
3) โครมาโทรการาฟีแบบเยื่อบาง
4) โครมาโทรการาฟแบบก๊าซ - ของเหลว
วิธีโครมาโทรกราฟีใช้ประโยชน์ทั้งทางปริมาณวิเคราะห์ และคุณภาพวิเคราะห์ในกรณีที่ใช้กับสารไม่มีสี อาจตรวจดดยส่องด้วยรังสีอัลตราไวดอเลต (UV) ถ้าสารนั้นเรืองแสงหรือพ่นด้วยไอดอดีนบนตัวดูดซับในภาชนะปิด สารบางชนิดเมื่อถูกไอโอดีนจะให้สีน้ำตาลหรือพ่นนินไฮอดริน (Ninhydrin) ถ้าสารนั้นมีกรดอะมิโนจะได้สีน้ำเงินปนม่วง
ข้อดีของเทคนิคโครมาโทรกราฟี
ใช้แยกสารตัวอย่างที่มีปริมาณน้อยได้โดยใช้ตัวดูดซับ
ใช้ได้ทั้งปริมาณวิเคราะห์ และคุณภาพวิเคราะห์ได้
แยกได้ทั้งสารมีสีและสารไม่มีสี
เมื่อนักเรียนได้ศึกษาวิธีการแยกสารดังกล่าว นักเรียนจะพบว่าการแยกสารแต่ะวิธีอาศัยสมบัติของสารแต่ละชนิดเป็นสำคัญ หากเรามีสารรอบตัวมากมาย ที่เป็นประโยชน์หรืออาจก่อให้เกิดโทษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ถ้าเราได้นำความรู้ในเรื่องการแยกสารมาใช้ให้ถูกวิธีและเหมาะสม เราก็สามารถได้สารที่เป็นประโยชน์มาใช้ในชีวิตประจำวัน และคัดเลือกสารที่ไม่ต้องการหรืออาจก่อให้เกิดโทษต่อมนุษย์ และสิ่งแวดล้อมโดยอาศัยวิธีการแยกสารได้
2. สารละลาย
สารละลาย (Solution) หมายถึง สารเนื้อเดียวที่เกิดจากสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาผสมกัน โดยใช้อัตราส่วนในการผสมแต่ละครั้งไม่จำเป็นต้องเท่ากัน สารละลายที่ได้มีสมบัติก้ำกึ่งตามสารที่นำมาผสมกันและส่วนมากแยกกลับคืนเ็ป็นสารเดิมได้ง่าย
องค์ประกอบของสารประกอบด้วย ตัวถูกละลาย (Solute) และ ตัวทำละลาย(Solvent) สารที่มีปริมาณมากกว่าจะเป็นตัวทำละลาย สารที่มีปริมาณน้อยกว่าจะเป็นตัวถูกละลาย
ตารางแสดงสารละลาย ตัวทำละลายและตัวถูกละลายบางชนิด
ชนิดของสารละลาย สถานะสารละลาย ก๊าซตัวถูกละลาย ตัวทำละลาย
นาก ของแข็ง ทองคำ ทองแดง
ทองเค ของแข็ง ทองแดง ทองคำ
ทองขาว ของแข็ง ทองคำและพัลลาเดียม เงิน
ทองสำริด ของแข็ง ดีบุก ทองแดง
เหล็กสแตนเลส ของแข็ง โครเมียม นิกเกิล แมงกานีส
วิลิกอล และอื่น ๆ โลหะ
พัลลาเดียม
ก๊าซไนโดรเจนในโลหะพัลลาเดียม ของแข็ง ก๊าซไฮโดรเจน เหล็ก
น้ำส้มสายชู ของเหลว กรดอะซิติก น้ำ
น้ำอัดลม ของเหลว - น้ำตาลก๊าซ
- คาร์บอนไดออกไซด์
- สารที่ทำให้เกิดสี และกลิ่น น้ำ
ทิงเจอร์ไอโอดีน ของเหลว ไอโอดีน เอทานอล
น้ำแอมโมเนีย ของเหลว ก๊าซแอมโมเนีย น้ำ
อากาศ ก๊าซ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซเฉื่อยและไอน้ำ ก๊าซไนโตรเจน
ก๊าซหุงต้ม ก๊าซ ก๊าซบิวเทน ก๊าซโพรเพน
เกณฑ์ในการตัดสินว่า สารละลายชนิดใด เป็นสารละลายเข้มข้นหรือเจือจางจะต้องสามารถบอกอัตราส่วนผสมของสารละลายแต่ละละชนิดได้ ดังนั้จึงนิยมบอกความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยต่าง ๆ เช่น บอกร้อยละ โมลต่อลิตร โมลต่อกิโลกรัม เป็นต้น
การบอกความเข้มข้นสารละลายในหน่วยร้อยละ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
ร้อยละโดยมวลต่อมวล เป็นการบอกให้ทราบว่าในสารละลาย 100 กรัม มีตัวถูกละลายอยู่กี่กรัม นิยมใช้กับสารลัลายที่เกิดจากของแข็งผสมกับของแข็ง
ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร เป็นการบอกให้ทราบว่าในสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีตัวถูกละลายอยู่กี่กรัม นิยมใช้กับสารละลายที่มีตัวถูกละลายเป้นของแข็งละลายในตัวทำละลายของเหลว
ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร เป็นการบอกให้ทราาบว่าในสารละลาย 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร มีตัวถูกละลายอยู่กี่ลูกบาศก์เซนติเมตร นิยมใช้กับสารละลายที่เกิดจากก๊าซละลายในก๊าซหรือของเหลว
การคำนวณเกี่ยวกับความเข้มข้นของสารละลาย
ตัวอย่าง สารละลายเอทานอลเกิดจากเอทานอล 300 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผสมกับน้ำ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร สารละลายที่ได้มีความเข้มข้นกี่เปอร์เซนต์โดยปริมตรต่อปริมาตร
วิธีทำ ปริมาตรของสารละลาย = ปริมาตรเอทานอล + น้ำ
= 300 +500=800 cm3
สารละลาย 800 cm3 มีเอทานอล 300 cm3
สารละลาย 100 cm3 มีเอทานอล (300/800)100 = 37.5 cm3
นั่นคือ สารละลายเอทานอลเข้มข้น 37.5 เปอร์เซนโดยปริมาตรต่อปริมาตร Ans.
ตัวอย่าง นากเข้มข้น 20 เปอร์เซนต์โดยมวลต่อมวล ถ้าต้องการเตรียมนาก 500 กรัม จะต้องใช้ทองคำและทองแดงอย่างละกี่กรัม
วิธีทำ นาก 20 % โดยมวลต่อมวลหมายความว่า
นาก 100 กรัม มีทองคำ (500 /100)20 กรัม และทองแดง (500 /100)80 กรัม
นาก 100 กรัม มีทองคำ 100 กรัม และทองแดง 400 กรัม
นั่นคือ ต้องใช้ทองคำ 100 กรัม และทองแดง 400 กรัม Ans.
สารละลายบางชนิด หากใส่ตัวถูกละลายมากเกินไป ตัวทำละลายจะไม่สามารถละลายได้อีก เราเรียกสารละลายชนิดนี้ว่า สารละลายอิ่มตัว
ความสามารถการละลายได้ของสารแต่ละชนิดมีสภาพการละลายต่างกัน สารที่ละลายได้สูงย่อมละลายได้มากกว่าสารที่มีสภาพการละลายได้ต่ำ
สิ่งทีมีผลต่อการละลายได้ของสาร ได้แก่
ชนิดตัวทำละลาย ตัวถูกละลายชนิดเดียวกัน เมื่อนำไปละลายในตัวทำละลายต่างชนิดกัน ย่อมมีสภาพละลายได้ต่างกัน
ชนิดตัวถูกละลาย ตัวถูกละลายต่างชนิดกันเมื่อนำไปละลายในตัวทำละลายชนดิเดียวกันย่อมมีสภาพการละลายได้ต่างกัน สภาพการละลายขของสารบางชนิดในน้ำที่มีอุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส มีค่าต่าง ๆ กัน ดังตาราง
ตาราง แสดงสภาพการละลายได้ของสารบางชนิด
ชนิดสาร สภาพการละลายได้ในน้ำ (กรัม / 100 กรัม)
คอปเปอร์ซันเฟต (CuSo4) 20.7
แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3 0.0012
แคลเซียมไฮดรอกไซด์ (Ca(OH)2) 0.17
โซเดียมครอไรด์ (NaCl) 36.0
โพแทสเซียมเปอร์มังกาเนต (KMnO4) 6.4
จากข้อมูลในตาราง เราจะเห็นได้ว่า สภาพการละลายได้ขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายอและตัวถูกละลาย ตัวทำละลายและตัวถูกละลายแต่ละคู่จะละลายได้ดีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับโครงสร้างของสารทั้ง 2ชนิด ถ้าตัวทำละลายและตัวถูกละลายมีโครงสร้างคล้ายคลึงกันจะละลายได้ดีและมีสภาพการละลายได้สูง จากคความรู้ที่สารแต่ละชนิดละลายได้ดีในตัวทำละลายต่างชนิด สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
อุณหภูมิ สารโดยทั่วไปจะมีสภาพละลายได้เพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เช่น สารละลายโพแทสเซียมไนเตรท ยกเว้น ก๊าซทุกชนิดและสารในสถานะอื่นบางชนิด เช่น โวเดียมไฮดรอกไซด์ เมื่อเพิ่มอุณหภูมิการละลายจะลดลง
ความดัน จะมีผลต่อสภาพละลายได้ของสารในสถานะก๊าซเท่านั้น โดยความดันยิ่งสูงขึ้นสภาพละลายได้ของกีาซจะยิ่งเพิ่มขึ้น จะเห้นว่าก๊าซจะละลายได้มากเมื่ออุณหภูมิต่ำและความดันสูง การนำความรู้นี้ไปใช้ไปใช้อุตสาหกรรมการผลิตน้ำอัดลม น้ำโวดาและน้ำแอมโมเนีย
3.สมบัติของสารละลายกรดและเบส
3.1 pH กับสมบัติความเป็นกรดและเบสของสารละลาย
ข้อมูลที่บอกความเป็นกรดและเบสของสารละลาย คือ ค่า pH มีค่าน้อยกว่า 7 สารละลายเป้นกรด pH มากว่า 7 สารละลายเป้นเบส และถ้า pH เท่ากับ 7 สารละลายเป้นกลาง
ถ้าต้องการรู้ค่า pH ของสารละลายที่แน่นอนทำได้โดยวัดด้วยเครื่องพีเอชมิเตอร์ (pH - meter) ในการทอลองทั่วไปเราสามารถบอกค่า pH ได้โดยใช้อินดิเคเตอร์ (Indicator) ซึ่งสามารถบอกค่า pH ได้เป็นช่วง ๆ โดยใช้อินดิเคเตอร์หลาย ๆ ชนิด มาผสม จะสามารถทราบค่า pH ของสารละลายได้ค่อนข้างชัดเจน อินดิเคเตอร์ดังกล่าว เรียกว่า ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์(Universal Indicator) อินดิเคเตอร์ที่นำมาทดสอบค่า pH ได้ค่าที่ละเอียดมากขึ้น
ช่วง pH ยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ ที่ทดลองสามารถบอกความเป็นกรดและเบสได้ชัดเจน ทำให้เราสามารถใช้คุณสมบัติความเป็นกรดและเบสดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ และป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดในชีวิตประจำวันได้
3.2 สมบัติของสารละลายกรดและเบสที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
นักเรียนจะพบว่าสารโดยรอบตัวเรามีสมบัติมากมายไม่ว่าจะได้มาจากพืชและสัตว์หรือได้จากการสังเคราะหขึ้นเอง เราพบว่าสารละลายกรดที่มาจากสารอินทรีย์ เช่น กรดอซิติก (CH3COOH) กรดฟอร์มิก (HCOOH) หรือกรดบิวไทริก(C3H7COOH) เป็นกรดที่มีรสเปรี้ยว สามารถเปลี่ยนกระดาษลิสมัสจากสีน้ำเงินเป็นสีแดงได้เช่นเดียวกับกรดซันฟิวริก(H2SO4) หรือกรดไฮโดรคลอริก (HCI) ซึ่งเป็นกรดแร่จากสารอนินทรีย์ นักเรียนทราบหรือไม่ว่า กรดที่มาจากสิ่งมีชีวิตหรือกรดอินทรีย์มีวิธีการทดสอบความแตกต่างอย่างไร
กรดอนินทรีย์ เช่น กรดไฮโดรคอลิก เป็นต้น จะมฤทธิ์กัดกร่อนเซลล์เนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต ส่วนกรดอินทรีย์ จะไม่ทำปฏิกิริยากับเซลล์ของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้เรายังสามารถใช้สารเจนเชียนไวโอเลตบอกความแตกต่างระหว่างกรดที่ได้รับจากสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตได้ กล่าวคือ ถ้าเป็นกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิตหรือกรดอนินทรีย์ เมื่อนำมาทดสอบกับสารเจนเชียนไวโอเลตจะไม่เปลี่ยนสีของเจนเชียนไวโอเลต ส่วนกรดอนินทรีย์เป็นกรดที่ได้จากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แร่ธาตุต่าง ๆ หรือสารเคมีบางชนิด ได้แก่ กำมะถัน ไนโตรเจนหรือก๊าซคลอรีน กรดนี้เมื่อนำมาทดสอบกับสารเจนเชียนไวโอเลตจะเปลี่ยนสีของเจนเชียนไวโอเลตจากสีม่วงเป้นสีเขียวหรือสีน้ำเงิน เราจึงนิยมใช้เจนเชียนไวโอเลตสำหรับทดสอบกรดเพื่อบอกความแตกต่างระหว่างกรดอินทรีย์กับกรดอนินทรีย์ซึ่งมีราคาถูก สะดวกและประหยัด
สารที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีอยู่มากมายหลายชนิด บางชนิดเป็นกรด บางชนิดเป้นเบส บางชนิดสามารถบริโภคได้โดยไม่มีอันตราย บางชนิดไม่สามารถบริโภคได้ จากกิจกรรมการทดลองที่ผ่านมาเราสามารถทดสอบความเป้นกรดและเบศได้ แต่บางครั้งปรากฏการณ์ที่เกิดจากมลภาวะที่เป็นพิษ เช่น น้ำ อากาศและดิน ที่มาจากการกระทำของมนุษย์ บางครั้งเราก็สามารถทดสอบได้ เช่น การเกิดฝนกรด เราสามารถใช้กระดาษลิสมัสหรือยูนิเวอร์แซลอินดิเคเตอร์ทดสอบได้ หรือสภาพดินเปรี้ยวที่เกิดจากสารที่ละลายจากปุ๋ยที่มาจากสารเคมี หรือจาการทิ้งขยะที่เน่าสลายได้ยากก็อาจก่อให้เกิดดินสภาพเป้นกรด ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ ดังนั้นการใช้สารเคมีโดยเฉพาะสีที่มีความเป็นกรดเบสควรใช้ด้วยความระมัดระวังและคำนึงถึงผลเสียที่อาจตามมาภายหลัง
3.3 หลักการใช้สารโดยทั่วไป
โดยปกติแล้ว สารที่นำมาใช้ย่อมมีประโยชน์ ถ้าเราศึกษาและใช้อย่างระมัดระวัง แต่ขาดความรู้และไม่ศึกษาให้รอบคอบเกี่ยวกับวิธีการใช้สารแล้วย่อมก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเอง และส่วนรวม สำหรับการใช้สารโดยทั่วไปเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดได้แก่
ศึกษาสมบัติของสารนั้น ๆ เช่น ความเป็นกรด เบส ความเป้นพิษและอันตรายของสารแต่ละชนิดก่อนใช้ทุกครั้ง
การใช้สารต้องใช้ให้ถูกวิธี ซึ่งโดยทั่วไปจะมีคำอธิบายวิธีใช้สารที่เป้นอันตรายต่าง ๆ อยู่ในฉลาก ผู้ใช้ควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
ต้องคำนึงถึงคุณภาพของสารเหล่านั้น ซึ่งอาจพิจารณาจากการอนุญาตุหรือการรับรองของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสารธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น การรับรอบสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน จะมีเครื่องหมายมาตรฐานพร้อมทั้งระบุหมายเลขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้เห็นได้ง่ายและชัดเจ ไว้ใต้หรือข้างเครื่องหมายมาตรฐาน
ส่วนการพิจารณาจากการอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขนั้นจะมีหมายเลขทะเบียนอาหารระบุไว้ด้วย เช่น สีผสมอาหารที่ได้รับอณุญาตจากคณะกรมการอาหารและยา จะมีเลขทะเบียนอาหาร
การใช้สารเคมีทุกชนิด ผู้ใช้ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อคนและสิ่งแวดล้อมถ้ามีอันตรายมากควรหลีกเลี่ยงไม่นำมาใช้
แบบทดสอบหลังเรียนประจำบทที่ 2
1.สารหมายถึงอะไร
1.อนุภาคที่มีขนาดเล็ก แบ่งแยกไม่ได้ 2.เนื้อของสารซึง่มีมวลและสัมผัสได้
3.ธาตุต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ 4.อนุภาคที่เรียกว่าอะตอม
2.ข้อใดคือ สารประกอบ
1.Ca 2.H2O
3.C 4.H
3.ธาตุ คืออะไร
1.สารบริสุทธิ์ที่เกิดการจาการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่คงที่
2.สารประกอบทั่วไป เช่น น้ำ ก๊าซออกซิเจน ฯลฯ
3.สารบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยอนุภาค เรียกว่า อะตอม
4.ของผสมที่เป็นเนื้อเดียว
4.การแยกสารทำได้โดยวิธีใดบ้าง
1.การกรอง 2.การกลั่น
3.การระเหย 4.ทุกข้อที่กล่าวมา
5.ต๋อย ทำผงถ่านตกลงในข้าวสารที่บ้าน ต๋อยจะมีวิธีแยกถ่านออกจากข้าวสารโดยวิธีใด
1.การกรอง 2.การกลั่น
3.การระเหย 4.การตกผลึก
6.ข้อใดคือ ความหมายของสารละลาย
1.ของผสมที่เกิดจากการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่คงที่
2.ของผสมที่เห็นเป็นเนื้อเดียวประกอบด้วยตัวทำละลายและตัวถูกละลาย
3.สารบริสุทธิ์ที่เกิดกจากการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่คงที่
4.สารบริสุทธิ์ที่เกิดจาการรวมตัวของธาตุในอัตราส่วนที่ไม่จำเป็นต้องเท่ากัน
7.น้ำอัดลม มีอะไรเป็นตัวทำละลาย
1.น้ำ 2.ออกซิเจน
3.คาร์บอนไดออกไซด์ 4.ไนโตรเจน
8.น้ำอัดลมเกิดจากน้ำตาล 100 cm3 , คาร์บอนไดออกไซด์ 120 cm3 กับน้ำ 500 cm3 และสารที่ทำให้เกิดสีและกลิ่นอีก 80 cm3 น้ำมีความเข้มข้นกี่เปอร์เซนต์ โดยปริมาตรต่อปริมาตร
1. 10 2. 30
3. 50 4. 70
9.ปรีชานำสารชนิดหนึ่งมาทดสอบหาค่าความเป็นกรดเบส-ด้วยอินดิเคเตอร์ ปรากฏว่า สีของกระดาษ pH ไม่เปลี่ยนสี แสดงว่าสารละลาย ดังกล่าวมีสมบัติเป็นอย่างไร
1.กรด 2.เบส
3.กลาง 4.บอกไม่ได้
10.ข้อใดเป็นหลักการใช้สารที่ถูกต้อง
1.ศึกษาคุณสมบัติของสารนั้น ๆ ก่อนนำมาใช้
2.ปฏิบัติตามคำอธิบายวิธีใช้สารที่อยู่ในฉลาก อย่างเคร่งครัด
3.พิจารณาถึงคุณภาพของสาร
4.ทุกข้อที่กล่าวมา
Today, there have been 2 visitors (4 hits) on this page!
|