หน้าหลัก
ฝากข้อความถึงครูป้อม
ประวัติครูทวีสุข
Guestbook
สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า
หลุมดำ
จุดดับบนดวงอาทิตย์
โมเลกุลมหัศจรรย์
Glenn T. Seaborg
LAVOISIER
Linus Pauling : นักเคมีอัจฉริยะ
มาดามคูรี
รางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี พ.ศ.2539
วิธีการปรุงอาหารกับโรค
Leeuwenhock กับการเคลื่อนที่ของเซลล์
เมนเดล
สรุปวิทยาศาสตร์ทั่วไป
 

Glenn T. Seaborg

Glenn T. Seaborg

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 เป็นวันที่โลกได้สูญเสียนักเคมีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของโลกไป Glenn T. Seaborg เกิดที่เมือง Spring field ในรัฐ Michigan สหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2455 มารดาเป็นชาวสวีเดนและบิดาทำงานเป็นช่างเครื่องรถยนต์

ชีวิตการทำงาน Seaborg เป็นชีวิตที่จะหาใครใดในคริสศตวรรษนี้มาเทียบเคียงได้ยาก เขาเป็นนักเคมีผู้ได้ยุติสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะธาตุ plutonium ที่เขาพบ คือเชื้อเพลิงสำคัญที่ได้ถูกนำมาใช้ในการทำระเบิดและระเบิดมหาประลัยที่เขามีส่วนสร้างขึ้นนี้ได้ทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ ต้องยับยั้งชั่งใจในการจะเข้าสู่สงครามกันมานานกว่า 50 ปี เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ประธานาธิบดี Kennedy, Johnson และ Nixon เป็นผู้อำนวยการองค์การปรมาณูแห่งชาติของสหรัฐฯ นานถึง 10 ปี เป็นศาสตราจารย์และอธิการบดีของมหาวิทยาลัย California ที่ Berkeley เป็นบิดาของบุตรและธิดา 6 คน เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ทุ่มเทพลังความคิดในการปฏิรูปการศึกษาวิทยาศาสตร์ของชาติ และเมื่อ 2 ปีก่อนนี้ ธาตุที่ 106 ที่เขาพบก็ได้รับการตั้งชื่อว่า Seaborgium ตามชื่อของเขาทั้งๆ ที่ขณะนั้นเขายังมีชีวิตอยู่ เขาได้พบธาตุที่ 94 คือ plutonium โดยใช้เครื่องเร่งอนุภาคยิงอนุภาค deuteron ให้พุ่งชน uranium ทำให้นิวเคลียสของธาตุทั้งสองหลอมรวมกันในปี พ.ศ. 2483 และเขาได้ตั้งชื่อธาตุใหม่นี้ตามชื่อของดาว pluto นอกจากนี้เขายังได้สังเคราะห์ธาตุที่ 95 Americium (ตามชื่อ America) พบธาตุที่ 96 curium (ตามชื่อของมาดาม Curie ผู้พบ radium) สังเคราะห์ธาตุที่ 98 Californium (ตามชื่อรัฐ California) ธาตุที่ 99 Einsteinium (ตามชื่อของ Einstein) ธาตุที่ 100 fermium (ตามชื่อของ Fermi ผู้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเตาแรกของโลก) ธาตุที่ 101 mendelevium ตามชื่อ Mendelev ผู้พบตารางธาตุให้นักเคมีใช้กันทุกวันนี้ทั่วโลก) ธาตุที่ 102 nobelium (ตามชื่อของ Alfred Nobel ผู้ตั้งรางวัลโนเบล) ธาตุที่ 106 Seaborgium (ตามชื่อของตนเอง) และธาตุที่ 110 ที่ยังไม่มีชื่อ ความสำเร็จในการสังเคราะห์ธาตุใหม่ๆ เหล่านี้ได้ทำให้ Seaborg ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2499 ร่วมกับ E.M. McMillan นอกจากรางวัลโนเบลแล้ว เขายังได้รับเหรียญและรางวัลเกียรติยศจากสมาคมวิชาการต่างๆ ทั่วโลกอีกมากมาย Seaborg มีงานวิจัยตีพิมพ์กว่า 500 ชิ้น แต่งหนังสือ 16 เล่ม และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์จากมหาวิทยาลัยทั่วโลก 50 ปริญญา

ชีวิตการทำงาน Seaborg เป็นชีวิตที่จะหาใครใดในคริสศตวรรษนี้มาเทียบเคียงได้ยาก เขาเป็นนักเคมีผู้ได้ยุติสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะธาตุ plutonium ที่เขาพบ คือเชื้อเพลิงสำคัญที่ได้ถูกนำมาใช้ในการทำระเบิดและระเบิดมหาประลัยที่เขามีส่วนสร้างขึ้นนี้ได้ทำให้ประเทศมหาอำนาจต่างๆ ต้องยับยั้งชั่งใจในการจะเข้าสู่สงครามกันมานานกว่า 50 ปี เขาทำงานเป็นที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ให้แก่ประธานาธิบดี Kennedy, Johnson และ Nixon เป็นผู้อำนวยการองค์การปรมาณูแห่งชาติของสหรัฐฯ นานถึง 10 ปี เป็นศาสตราจารย์และอธิการบดีของมหาวิทยาลัย California ที่ Berkeley เป็นบิดาของบุตรและธิดา 6 คน เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ได้ทุ่มเทพลังความคิดในการปฏิรูปการศึกษาวิทยาศาสตร์ของชาติ และเมื่อ 2 ปีก่อนนี้ ธาตุที่ 106 ที่เขาพบก็ได้รับการตั้งชื่อว่า Seaborgium ตามชื่อของเขาทั้งๆ ที่ขณะนั้นเขายังมีชีวิตอยู่ เขาได้พบธาตุที่ 94 คือ plutonium โดยใช้เครื่องเร่งอนุภาคยิงอนุภาค deuteron ให้พุ่งชน uranium ทำให้นิวเคลียสของธาตุทั้งสองหลอมรวมกันในปี พ.ศ. 2483 และเขาได้ตั้งชื่อธาตุใหม่นี้ตามชื่อของดาว pluto นอกจากนี้เขายังได้สังเคราะห์ธาตุที่ 95 Americium (ตามชื่อ America) พบธาตุที่ 96 curium (ตามชื่อของมาดาม Curie ผู้พบ radium) สังเคราะห์ธาตุที่ 98 Californium (ตามชื่อรัฐ California) ธาตุที่ 99 Einsteinium (ตามชื่อของ Einstein) ธาตุที่ 100 fermium (ตามชื่อของ Fermi ผู้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเตาแรกของโลก) ธาตุที่ 101 mendelevium ตามชื่อ Mendelev ผู้พบตารางธาตุให้นักเคมีใช้กันทุกวันนี้ทั่วโลก) ธาตุที่ 102 nobelium (ตามชื่อของ Alfred Nobel ผู้ตั้งรางวัลโนเบล) ธาตุที่ 106 Seaborgium (ตามชื่อของตนเอง) และธาตุที่ 110 ที่ยังไม่มีชื่อ ความสำเร็จในการสังเคราะห์ธาตุใหม่ๆ เหล่านี้ได้ทำให้ Seaborg ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2499 ร่วมกับ E.M. McMillan นอกจากรางวัลโนเบลแล้ว เขายังได้รับเหรียญและรางวัลเกียรติยศจากสมาคมวิชาการต่างๆ ทั่วโลกอีกมากมาย Seaborg มีงานวิจัยตีพิมพ์กว่า 500 ชิ้น แต่งหนังสือ 16 เล่ม และได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมาศักดิ์จากมหาวิทยาลัยทั่วโลก 50 ปริญญา

เมื่อ Seaborg เริ่มชีวิตนักวิจัย P. Abelson และ McMillan ที่ Berkeley ได้เพิ่งพบธาตุที่ 93 คือ neptunium ซึ่งเป็นธาตุกัมมันตรังสีที่สลายตัวโดยการคายรังสี beta แล้วตัวมันที่เหลือเสถียร คือไม่สลายตัวอีกต่อไป เมื่อ Seaborg รู้ข้อมูลนี้ เขามีความคิดว่าธาตุที่หนักกว่าคือธาตุที่ 94 (ซึ่งเป็นธาตุที่ยังไม่มีใครพบ) จะต้องเป็นธาตุที่เสถียรกว่า neptunium และธาตุใหม่นี้น่าจะแยกตัวได้เช่นเดียวกับธาตุที่ 92 (uranium) ซึ่งข้อสันนิษฐานของ Seaborg ที่เกี่ยวกับธาตุใหม่นี้ได้ทำให้คณะนักวิทยาศาสตร์ฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งกำลังสร้างระเบิดปรมาณูของสหรัฐฯ ในโครงการ Manhattan ตระหนักได้ทันทีว่า การแยกธาตุที่ 94 ชื่อ plutonium จากธาตุ uranium นั้นสามารถกระทำได้ง่ายกว่าการแยกธาตุ 235 U จาก 238 U มาก (235 U เป็นธาตุที่จำเป็นในการสร้างระบิดปรมาณู)

ถึงแม้กระบวนการแยก 235 U จาก 238 U จะยากเย็นแสนเข็ญสักปานใด แต่ในที่สุดคณะนักวิทยาศาสตร์ในโครงการ Manhattan ก็ประสบความสำเร็จในการแยกมันได้ และเมื่อนักวิทยาศาสตร์ในโครงการ Manhattan มีทั้ง 235 U และ plutonium สหรัฐฯ จึงตัดสินใจระดมทรัพยากรบุคคล สร้างระเบิดปรมาณูทั้งสองรูปแบบ (คือแบบที่ใช้ uranium และ plutonium) โดยได้มอบหมายให้ Seaborg เป็นผู้รับผิดชอบการสร้างระเบิดปรมาณูที่ใช้ plutonium เป็นเชื้อเพลิง

เมื่อ Seaborg และคณะประสบความสำเร็จ สหรัฐอเมริกาก็มีระเบิดปรมาณูที่สามารถใช้การได้ 2 ลูกพร้อมกัน ซึ่งก็เป็นจำนวนที่อเมริกาต้องการ เพราะอเมริกาตระหนักว่าการทิ้งระเบิดปรมาณูเพียงสองลูกจะยุติสงคราม และประวัติศาสตร์ก็ได้จารึกว่า การคาดคะเนนี้ถูกต้องทุกประการ เพราะเมื่อระเบิด uranium ได้ระเบิดที่ Hiroshima และการระเบิด plutonium ลงที่ Nagasaki รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยินยอมเซ็นสัญญาสงบสงครามโลกครั้งที่สองทันที

คำถามที่น่าสนใจคือ ถ้า Seaborg ผลิตธาตุ plutonium ไม่ได้ ประวัติศาสตร์ของโลกจะเปลี่ยนแปลงเช่นไร คำถามนี้ คงไม่มีใครตอบได้อย่างมั่นใจเลย

ตามธรรมดา Seaborg เป็นคนชอบเก็บสะสมวารสาร เขาชอบอ่านวารสารตั้งแต่มีอายุได้ 8 ขวบ การอ่านวารสารทำให้เขารู้จักนักวิทยาศาสตร์คนอื่นๆ ทำให้รู้เหตุการณ์ค้นพบใหม่ๆ และมีข้อมูลที่จะช่วยให้เขาทำงานวิจัยต่อไปได้ดี เมื่อเขาผละจากงานบริหาร ที่ Washington D.C. เขาก็กลับมาทำงานวิจัย ที่มหาวิทยาลัย California ที่ Berkeley เขาเป็นผู้ที่เชื่อมั่นในคุณประโยชน์ของโรงไฟฟ้าพลังปรมาณูมาก การยึดติดกับความคิดนี้ได้ทำให้เขาไม่เป็นที่ชื่นชมในบรรดานักนิเวศวิทยานัก และเขารู้สึกว่าผลงานชิ้นสำคัญที่สุดของเขาในการทำงานเป็นผู้อำนวยการองค์การพลังงานปรมาณูแห่งชาติของสหรัฐฯ คือ การที่สหรัฐฯ มีโรงไฟฟ้าปรมาณูเพิ่มมากขึ้น และเขาเชื่อว่า โรงไฟฟ้าปรมาณูเป็นหนทางเดียวที่จะช่วยแก้ปัญหาพลังงานของมนุษย์ได้ในระยะยาว

มรดกหนึ่งที่ Seaborg ได้ทิ้งไว้ให้โลกก็คือ วิธีการผลิตธาตุ plutonium ปริมาณมากๆ และการมี plutonium มากนี้เองที่ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Joint Institute for Nuclear Research ที่ Dubna ในประเทศรัสเซียสามารถสร้างธาตุที่ 114 ได้เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2542 นี้ ซึ่งธาตุที่ 114 นี้ถือได้ว่าเป็นธาตุแรกของบรรดาธาตุที่ค่อนข้าง superheavy และเป็นธาตุที่ค่อนข้างเสถียรคือ มีอายุยืนนานถึง 30 วินาที โดยคณะนักวิจัยรัสเซียได้ยิงอะตอมของธาตุ calcium-48 ให้พุ่งชนเป้าที่ทำให้ด้วย plutonium-244 ทำให้เกิดธาตุ 292114

ความสำเร็จล่าสุดในการสังเคราะห์ธาตุใหม่ๆ คือเมื่อต้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 นี้เอง คณะนักฟิสิกส์แห่ง Lawrence Berkeley national Laboratory ที่ California ในสหรัฐอเมริกาได้ประกาศว่า พวกเขาได้ประสบความสำเร็จในการสร้างธาตุหนักชนิดใหม่ขึ้นอีก 2 ธาตุคือธาตุที่ 116 และ 118 (ธาตุทั้งสองนี้มีอนุภาค proton ในนิวเคลียส 116 ตัว และ 118 ตัวตามลำดับ) โดยการยิง krypton-86 ให้ชนอะตอมของตะกั่ว-208 คณะนักทดลองคณะนี้มีโครงการต่อไปคือจะยิง krypton-86 ให้พุ่งชน bismuth เพื่อสร้างธาตุที่ 119

ถ้า Seaborg ยังมีชีวิตอยู่ เขาคงรู้สึกยินดีกับข่าวความสำเร็จและความพยายามเหล่านี้ครับ

 

Today, there have been 1 visitors (1 hits) on this page!
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free